การเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

สีเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ มีความนิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบันเนื่องจากใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนพื้น Floor Hardener อีกทั้งยังมีสีให้เลือกได้หลากหลายประเภทและราคา นอกจากนี้ฟิล์มสีอีพ็อกซี่ยังให้ความยืดหยุ่นตัวได้ดีกว่า Floor Hardener  ทำให้ปกปิดรอยแตกเล็กๆ ของพื้นผิวปูนได้ดีกว่า อีกทั้งยังสามารถป้องกันสารเคมี กรด-ด่าง ได้หลากหลายประเภท รวมถึงทำความสะอาดได้ง่าย

สีเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ เป็นสาร Bitumen ชนิดหนึ่งที่ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท

– สีอีพ็อกซี่มักมีส่วนผสมของสารตะกั่ว (Lead) อลูมิเนียมและสังกะสี(Zinc)

– แต่สีเคลือบอีพ็อกซี่ที่มีคุณภาพสูงมักใช้โลหะสังกะสี (Pure Metallic Zinc) ผสมในปริมาณสูงร่วมกับสารเคมีประเภท Organic หรืออาจใช้ Inorganic ซึ่งจะมีราคาสูงและใช้ค่อนข้างยาก

สีอีพ็อกซี่เป็นสีที่เหมาะกับงานภายในหรือบริเวณที่แสง U.V.สาดส่องไม่ถึง เนื่องจากอีพ็อกซี่เรซิ่นในสีจะเสื่อมสภาพได้เร็วเมื่อฟิล์มสีถูกแสง U.V.  สีอีพ็อกซี่ที่มีจำหน่ายทั่วไปจะทำเป็นสองส่วนคือ ส่วน A (Base) และส่วน B (Hardener) ซึ่งจะสะดวกต่อการจัดเก็บในระยะเวลานานๆ การใช้งานต้องผสมส่วน A และส่วน B ใน อัตราส่วนที่ถูกต้อง และต้องกวนสีให้เป็นเนื้อเดียวกันก่อนใช้งาน เพื่อให้การแห้งตัวของสีเคลือบพื้นเป็นไปที่กำหนด อย่างไรก็ตาม สีอีพ็อกซี่จะแห้งด้วยปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical Reaction) จึงต้องใช้สีให้หมดภายในเวลาที่กำหนดไว้

พื้นอิพ็อกซี่ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามการใช้งาน คือ

  1. พื้น epoxy Mortar มีความแข็งแรงและทนทานสูงสุด เหมาะสำหรับพื้นที่ต้องการรับโหลดสูงๆ เช่น ลานโหลดสินค้า และใช้ได้ดีที่ช่วงอุณหภูมิต่ำ -40 องศาเซลเซียส จึงเหมาะสำหรับงานห้องเย็น
  2. พื้น epoxy self leveling มีความเงางามสุงสุด มีความยืดหยุ่นดีมาก เหมาะกับพื้นโรงงานทั่วไปไปจนถึงพื้นแบบ Heavy Duty
  3. พื้น epoxy coating มีราคาถูกที่สุด เหมาะกับโรงงานทั่วไป
  4. พื้น epoxy anti-static พื้นที่ออกแบบสำหรับพื้นที่ปลอดไฟฟ้าสถิตในโรงงานอุตสาหกรรมเคมีหรืออิเล็กทรอนิค http://www.infinity-ivt.com/