ข้อสังเกตการใช้เครื่องต๊าปเกลียวและดอกต๊าปมือ

ดอกต๊าปมือใช้ทำเกลียวภายในรู หรือ Nut ( เกลียวตัวเมีย ) ตัวต๊าปเองมีลักษณะเหมือน Bolt ( เกลียวตัวผู้ ) ที่ทำร่องไว้ 3 – 4 ร่อง ตามความยาวของแนวแกน ร่องนี้บางแบบตรงและบางแบบเฉียง แบบที่เฉียงจะช่วยคลายเศษขี้จากการอุดตันได้ ต๊าปประกอบด้วยคมตัดหลายคมและมักจะทำด้วยเหล็กคาบอนด์ (Carbon) หรือเหล็กกล้าผสมที่ผ่านกรรมวิธีทางความร้อนที่ทำให้แข็งตัวมาแล้ว

โดยมากต๊าป 1 ชุดจะมี 3 ชนิด โดยชนิดที่ 1 จะมีความเรียวมากที่สุดประมาณ 5 – 7 ฟัน ชนิดที่ 2 จะมีความเรียวรองลงมาประมาณ 3 ฟัน จนถึงชนิดที่ 3 จะมีความเรียวน้อยที่สุด ต๊าปที่ใช้ทำเกลียวด้วยมือนี้ ถ้าทำเครื่องต๊าปเกลียวที่เจาะตลอดใช้ตัวที่ 1 ตัวเดียวก็เพียงพอ แต่ถ้ารูนั้นเป็นรูที่ไม่ทะลุจำเป็นต้องใช้ต๊าปทั้ง 3 ตัวเรียงตามลำดับพร้อมกับสารหล่อลื่นที่เหมาะสม

ต๊าปเมื่อใช้กับเครื่องเจาะหรือเครื่องทำเกลียวโดยเฉพาะ จำเป็นต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์พิเศษซึ่งสามารถหมุนไป และหมุนกลับได้ นอกจากนั้นยังต้องปรับตั้งฟีดหรือความเร็วอัตราป้อนให้สัมพันธ์กับการหมุนและโดยมากจะจัดให้การหมุนกลับเร็วกว่าการหมุนไปเพื่อประหยัดเวลาละค่าแรง

ข้อสังเกตการใช้เครื่องต๊าปเกลียว

1) การใช้ต๊าปด้วยมือ จำเป็นต้องหมุนถอยหลังทุกๆ ½ – 1 รอบ ของการหมุนเดินหน้า เพื่อขจัดเศษจากการตัดและป้องกันต๊าปหักคารู

2) ก่อนใช้เครื่องต๊าปเกลียวจำเป็นต้องเจาะรูก่อนเสมอ การเจาะรูจะทำขนาดเท่าใด มีวิธีการคำนวนคร่าวๆ คือ ใช้ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางเกลียวลบกับระยะพิทซ์ จะได้เป็นขนาดของรูเจาะที่จะได้เนื้อของสันเกลียวเท่ากับ 75% ของความลึกทั้งหมดขนาด 75% นี้เป็นที่นิยมทั่วไป เพราะความแข็งแรงลดลงนิดหน่อย แต่ทำงานสะดวกขึ้นมาก

จากผลการทดลองในอดีตพบว่า เราสามารถลดเปอร์เซ็นต์เนื้อเกลียวให้เหลือ 50% ได้โดยความแข็งแรงยังมีมากพอต่อการใช้งาน และพบว่าสำหรับเกลียวขนาด 6 ม.ม. ถ้าลดเนื้อเกลียวจาก 75% ลงมาเหลือ 50% จะสามารถลดแรงตัดในต๊าปลงได้ถึง 5

เท่าตัว นั่นหมายความว่าประหยัดกำลังได้มาก เพิ่มความเร็วในการทำงานสูงขึ้น หล่อลื่นได้ง่ายกว่า และลดโอกาสต๊าปจะแตกหักลง

ดังได้อธิบายมาแล้วทั้งหมดจะเห็นได้ว่า วิธีการทำเกลียวจากต๊าปเป็นวิธีที่จำเป็นต้องใช้ฝีมือในการทำงาน มีประสบการ์ และเป็นวิธีรที่ค่อนข้างช้า แต่อย่างไรก็ตามวิธีนี้ยังคงมีความจำเป็นต้องใช้อยู่บ้างเพื่อใช้เป็นความรู้ในการทำงาน http://www.tcgroup.asia/